หน้าเว็บ

Pang Pang FC

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำตังเอง



สวัสดีค่ะดิฉันชื่อ นางสาว กุลยา สายเนตร  ชื่อเล่น แป้ง ม.3/1 เลขที่ 15
เกิด : วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2540
ที่อยู่ : 61 หมู่ 5 ตำบลนาแต้ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
อาหารที่ชอบ : กระเพา-ไข่ดาว
สีที่ชอบ : ดำ ฟ้า ชมพู
กีฬาที่ชอบ : ฟุตซอล  ตะกร้อ
อาชีพในฝัน : ตำรวจ 
กิจกรรมยามว่าง : ดูทีวี อ่านหนังสือ เล่นคอมพิวเตร์
คติประจำใจฝันให้ไกล .......แล้วไปให้ไกลกว่าฝัน





วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรียงความ วันแม่

       ตั้งแต่ เด็กจนเติบโตเป็นวัยรุ่น แม่เฝ้าสั่งสอนให้เป็นคนดี ตั้งใจเรียนหนังสือ และแม่ก็ให้ความรักอย่างจริงใจ แม้ว่าสิ่งที่เคยทำผิดพลาดไปนับครั้งไม่ถ้วน แม่ก็ยังให้อภัยลูกคนนี้เสมอ และยังมอบรอยยิ้มทั้ง ๆ ที่แม่ ก็ต้องเสียน้ำตา ความผิดของลูกไม่ว่าจะครั้งไหน ร้ายแรงสักเพียงใด แม่ก็ยังพร้อมที่จะอ้าแขนกอดลูก ด้วยความรักเสมอมา
ในวันนี้ ที่ลูกประสบความสำเร็จทั้งการเรียน และการงาน ได้มีโอกาสได้ตอบแทนพระคุณแม่ แม้ว่ามันจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยถ้าเทียบกับสิ่งที่ได้รับจากแม่ แต่ลูกคนนี้ก็จะขอสัญญาว่าจะไม่ทำให้แม่เสียใจอีกต่อไป จะดูแลแม่ให้เหมือนที่แม่ดูแลลูกเมื่อยังเล็ก จะไม่ให้แม่ต้องเหนื่อย ทั้งกายและใจกับลูกคนนี้ และจะรักแม่ให้มากกว่ารักตัวเอง….. รักแม่ค่ะ

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรารักแม่


วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากลของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชาย่อมาจากวิสาขปูรณมีบูชาแปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะอันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายนโดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]
วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน)โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบันวิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า พุทธชยันตี” (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัยวันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)” หรือ วันสำคัญของโลกตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การใช้ตู้ ATM เพื่อการถอนเงิน

จัดทำโดย
ด.ญ.กุลยา สายเนตร เลขที่ 15
ด.ช.จิรเมธ อนุพรรณสว่าง เลขที่ 37
ด.ญ.ยุวดี หลักทองคำ เลขที่ 50